10 ปี 'ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน' กลางพายุคดียุครัฐประหารถึงยุคเรียกร้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ | ประชาไท Prachatai.com

10 ปี ‘ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน’ กลางพายุคดียุครัฐประหารถึงยุคเรียกร้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ | ประชาไท Prachatai.com

ศูนย์ทนายความฯ จัดงานมีอายุครบรอบ 10 ปีท่ามกลางพายุคดียุครัฐประหารจนถึงช่วงเยาวชนออกมาเรียกร้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ปี 63 ชวนผู้ที่ถูกดำเนินคดีมาเล่าประสบการณ์ทั้งคดีสหพันธรัฐไท คดีครอบครองหนังสือบันทึก 10 ข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันฯ และเยาวชนที่ต้องเผชิญกระบวนการยุติธรรมที่ไม่เป็นธรรมของศาลเยาวชนฯ

22 พ.ค. 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (22 พ.ค.) เวลา 15:30 น ที่หอศิลปหาะวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนจัดนิทรรศการ “วิสามัญยุติธรรม” ในวาระครบรอบ 10 ปีรัฐประหาร 2557 และยังเป็นการครบรอบ 10 ปีของศูนย์ทนายความด้วย และในงานมีเสวนาเปิดตัวหนังสือ “ผู้ต้องหาเสรีภาพ” ที่เล่าถึงผู้ที่ถูกดำเนินคดีในยุคการปกครองของรัฐบาลทหาร คสช.มาจนถึงปัจจุบัน 

ผู้ที่มาร่วมเสวนา ประพันธ์ หรือป้าเปียอดีตจำเลยคดีสหพันธรัฐไทย ณัฐนน ไพโรจน์ นักกิจกรรมทางการเมืองและเป็นผู้ต้องหาในคดีครอบครองหนังสือปกแดง “ปรากฏการณ์สะท้านฟ้า 10 สิงหา” ที่บันทึกข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ณิชการนต์ หรือ มีมี่ นักกิจกรรมเยาวชนเฟมินิสต์ และนพพล อาชามาส เจ้าหน้าที่ฝ่ายข้อมูลผู้ดูแลเนื้อหาต่างๆ บนเว็บไซต์ของศูนย์ทนายความฯ และเป็นบรรณาธิการของหนังสือเล่มนี้

นพพล อาชามาส เริ่มจากเล่าถึงการทำหนังสือเล่มนี้ว่าเป็นหนังสือเล่มที่ 2 ของศูนย์ทนายความณ แล้วที่กล่าวถึงผู้ที่ถูกดำเนินคดีจากการออกมาใช้สิทธิเสรีภาพการแสดงออก ในวาระครบรอบ 10 ปีก็เลยได้คุยกันว่าอยากจะออกหนังสือที่การสัมภาษณ์เรื่องราวของผู้ที่ถูกดำเนินคดีในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาที่ได้มาเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากมุมมองของพวกเขาที่น่าจะทำให้เข้าถึงคนอ่านได้ง่ายกว่าเพียงการเล่าถึงการต่อสู้คดีในศาลเพียงอย่างเดียว โดยคัดมาทั้งหมด 18 ตั้งแต่คดีในยุค คสช.มาจนถึงคดีที่เกิดขึ้นในช่วงการเคลื่อนไหวของกลุ่มเยาวชนในช่วงปี 63 เป็นต้นมาเพื่อเป็นการรวบรวมการละเมิดสิทธิ์ทีมมนุษยชนที่เกิดขึ้นว่ามีอะไรบ้างในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา

บก.หนังสือเล่าว่าเรื่องที่ยากในการทำหนังสือเล่มนี้คือการเลือกเรื่องมาเล่าเพราะว่ามีเรื่องจำนวนมากกว่าร้อยเรื่องซึ่งก็ต้องทำงานร่วมกันระหว่างขนของศูนย์ทนายกับคนนอกที่ต้องมาทำงานเป็นบกให้หนังสือ หลายเรื่องที่ไม่ได้ลงก็เป็นเรื่องน่าเสียดายเหมือนกันแต่ก็พยายามที่จะเลือกเลือกให้กระจายได้เห็นภาพตลอดช่วง 10 ปีที่ผ่านมา แต่คิดว่าน่าจะทำให้เห็นถึงความเป็นมนุษย์ของคนที่ถูกดำเนินคดีมากขึ้น ชีวิตของพวกเขาที่ต้องเจอความยากลำบากในการต่อสู้คดีต่างๆ ตัวบทกฎหมายมันอาจจะถูกเอามาใช้แต่อาจจะมองไม่เห็นภาพ แต่คนที่ถูกดำเนินคดีและกระบวนการทางกฎหมายที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือทำให้เราเห็นมิติอื่นนอกจากตัวบทกฎหมายที่นักเรียนกฎหมายเมืองไทยหลายคนอาจมองไม่เห็นถึงมิติพวกนี้ ถ้าหากมองข้ามความเป็นมนุษย์และผลกระทบต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับสังคมว่าเป็นอย่างไรบ้าง

ประพันธ์ หรือ เปีย เล่าว่าเธอโดนจับในคดีสหพันธรัฐไทยจากการที่มีเสื้อดำที่มีสัญลักษณ์ของกลุ่มซึ่งเธอคิดว่าเป็นคดีที่ไม่สมควรจะเกิดขึ้นแต่ก็ทำให้เธอต้องถูกคุมขังอยู่ถึง 2 ปีพอถึงช่วงที่พ้นโทษแล้วก็เป็นช่วงที่เกิดการระบาดของโควิดพอดี ไม่มีคนมารับตอนออกมาก็ออกมาคนเดียวก็กังวลทั้งเรื่องที่อยู่ในพื้นที่การระบาดสีแดงและก็ยังมีเชื้อโควิดด้วย เงินติดตัวมีไม่มากนักบัตรประชาชนก็ไม่มีทำให้ไปเปิดโรงแรมไม่ได้ พอไปหมอชิตเพื่อหาที่นอนก็ปรากฏว่าปิดจนต้องไปนอนที่หน้าร้านขายมือถือเขาก็คิดค่าที่นอน 100 บาท

ประพันธ์บอกว่าตอนนั้นก็มีทั้งความกังวลและรู้สึกเซงมาก พอเช้าวันรุ่งขึ้นก็นึกถึงศูนย์ทนายความฯ ขึ้นมาจึงไปขอความช่วยเหลือทางศูนย์ทนายความฯ ก็ให้เจ้าหน้าที่มาเปิดให้แต่ก็คงมีความกังวลกันเรื่องการระบาดของโควิดด้วยเหมือนกัน แต่ก็ทำให้เธอได้มีที่อาบน้ำซักผ้าและยังได้ตรวจโควิดด้วยก็พบว่ามีเชื้ออยู่

นอกจากนั้นประพันธ์ยังได้เล่าถึงการออกมาต่อสู้ทางการเมืองของเธอด้วยว่า ที่ผ่านมาก็มีทั้งรัฐบาลที่ทำประโยชน์ให้กับประเทศได้บ้าง หรือบางทีก็โดนกดขี่บ้างเธอก็ออกมาต่อสู้ จนทุกวันนี้ก็คิดว่าอย่างน้อยก็ได้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งแล้ว ส่วนรัฐบาลจะทำดีไม่ดีก็ตามจะเอาไม่เอารัฐบาลนี้ก็แค่รอไปอีก 4 ปี แต่ก็ต้องสนับสนุนรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเพราะว่าเธอเองก็สู้มาตั้งแต่ตอนที่เรียกร้องให้มีรัฐบาลจากการเลือกตั้ง พอได้เลือกตั้งแล้วก็ต้องพยายามประคับประคองให้การเลือกตั้งนี้อยู่ไปนานๆ ไม่ให้เกิดการรัฐประหารขึ้นอีก

ประพันธ์กล่าวด้วยว่าการต่อสู้ที่ผ่านมาผลในวันนี้ก็ถือเป็นความหวังได้ ตอนที่มีการชุมนุมชู 3 นิ้วก็มีตั้งหลายปีแล้ว ตอนที่อยู่ในคุกเธอก็ได้เห็นว่ามีเด็กๆ ออกมาชู 3 นิ้วกันในตอนปี 63 ก็รู้สึกดีใจว่าได้ส่งต่อแล้วจากที่เคยคิดว่าตัวเองเคยได้แค่ออกมาชู 3 นิ้วในห้างจนภายหลังมีเยาวชนออกมาต่อสู้ก็ถือว่าได้ผลเยอะ แต่การต่อสู้ที่ผ่านมาอาจจะไม่ได้เห็นผลในช่วงชีวิตตัวเองแต่อาจจะได้มาในช่วงของลูกหลานก็ได้

ณัฐชนน ไพโรจน์เล่าว่าบทสัมภาษณ์ในเล่มเป็นช่วงที่ใกล้ถึงนัดวันคำพิพากษาคดีม.112 จากการถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ครอบครองหนังสือที่บันทึกข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ซึ่งเป็นหนังสือที่พิมพ์แล้วตั้งใจจะเอาไปแจกในงานวันที่ 19 ก.ย.63 ที่สนามหลวงแต่ถูกตำรวจมาดักจับและยึดไปทั้งหมด 45,080 เล่ม ที่แม้ว่าสุดท้ายแล้วคดีของเขาศาลจะยกฟ้องว่าเขาไม่มีความผิดแต่หนังสือก็ยึดไว้ต่อไป

ณัฐชนนเล่าว่าส่วนเรื่องคดีความในตอนนี้ตอนนี้ก็เขายังมีอีกหลายคดีที่ยังไม่เสร็จสิ้น แล้วคดีส่วนใหญ่ก็ศาลก็พิพากษาลงโทษเป็นหลัก แต่เขาก็ยังทำงานทางการเมืองอยู่

ณัฐชนนเล่าย้อนไปว่า วันที่ คสช.ทำรัฐประหารเมื่อปี 57 ตัวเขาเองอายุแค่ 14 ปีเท่านั้น แล้วก็เพิ่งมาทำกิจกรรมทางการเมืองได้ไม่กี่ปีแต่การต่อสู้ที่ผ่านมาก็ทำให้ได้เรียนรู้ในหลายเรื่องมีหลายเรื่องให้คิดแล้วพอได้มาดูงานของศูนย์ทนายความฯ ก็ทำให้ได้คิดถึงว่าในช่วงเวลานั้นๆ ตัวเขาเองคิดอะไรอยู่บ้างแล้วก็ได้คิดว่าจะทำยังไงให้ชนะ สิ่งที่ทำไปเหล่านี้เขาทำไปทำไม ก็ได้รู้จักตัวเองมากขึ้น ทำไมถึงเชื่อแบบนี้ ทำไมถึงใช้ชีวิตแบบนี้จนถึงขั้นว่าสุดท้ายแล้วชัยชนะที่ว่าคืออะไร ทำให้ได้คุยกับตัวเองค่อนข้างเยอะ

ณิชกานต์ หรือ มีมี่ เล่าว่าเธอเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองตั้งแต่ 2563 แล้วคดีแรกที่โดนก็เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ 15 ต.ค.2563 ที่ราชประสงค์ที่ตอนนั้นออกมาเรียกร้องสิทธิให้ผู้ต้องขังทางการเมืองและเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวผู้ต้องขังทางการเมืองคดีด้วย แต่คดีที่โดนตอนนั้นเพราะตำรวจเข้าใจผิดว่าเธอคือมายด์ ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล แล้วคดีของเธอก็เป็นคดีเยาวชนคดีแรกแต่ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางก็ยกฟ้องไป จากนั้นมาก็ยังโดนอีก 7-8 คดีจากการทำกิจกรรมของกลุ่มเฟมินิสต์ด้วย และก็ยังมาโดนคดีจากการแสดง performance art ที่หน้ากระทรวงศึกษาธิการด้วย แล้วศูนย์ทนายความฯ ก็มาช่วยเหลือทุกคดี

มีมี่เล่าว่าตอนรัฐประหารเมื่อ 10 ปีก่อนเธอเพิ่งจะอายุ 10 ขวบถ้าอีก 10 ปีก็อายุ 30 ถ้าวันนั้นมองกลับมาจะเห็นอะไร เธอก็คิดว่าถ้าการออกมาเรียกร้องความยุติธรรมแล้วมันจะสิ้นสุดที่การถูกดำเนินคดีก็ทำให้ได้เห็นความไม่เป็นธรรม สิ่งที่อยากเห็นก็คืออยากเห็นกระบวนการยุติธรรมที่เป็นธรรมกับเยาวชนมากขึ้นตั้งแต่ชั้นตำรวจ อัยการ สถานพินิจ แล้วก็ชั้นศาลด้วย และยังมีรายละเอียดอีกเยอะมากที่รู้สึกว่าเมื่อเป็นคดีทางการเมืองก็มีความไม่เป็นธรรมเพราะว่าเขาใช้มาตรฐานเดียวกับคดีอาญาปกติและคนในกระบวนการยุติธรรมก็มองว่าเป็นเด็กเลว เป็นเด็กที่ต้องถูกแก้ไข และไม่อยากเห็นเยาวชนถูกดำเนินคดีทางการเมืองอีกแล้ว และก็ยังอยากเห็นเยาวชนในอนาคตหรือคนที่โตไปแล้วเมื่อมองกลับมาเห็นว่าตัวเองก็มีสิทธิในการแสดงออกทางการเมืองด้วยเหมือนกัน

นพพลกล่าวถึงงานของศูนย์ทนายความฯ ว่า ถ้าสถานการณ์ไม่ได้เป็นอย่างทุกวันนี้ศูนย์ทนายความฯ ก็คงไม่ต้องมาอยู่ถึงวันนี้และก็คงไปทำงานทางสังคมด้านอื่นๆ ไปช่วยเหลือคนในคดีอื่นๆ ได้มากกว่านี้ แต่ตอนนี้ก็ยังมีคดีจำนวนมากและงานของศูนย์ทนายความฯ ก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนดูเหมือนไม่มีจุดสิ้นสุด

เจ้าหน้าที่ฝ่ายข้อมูลศูนย์ทนายความฯ กล่าวถึงความคาดหวังของตัวเองว่า คดีเหล่านี้จะมีวันสิ้นสุดลงแล้วงานของศูนย์ทนายความฯ ก็คงมีจำเป็นน้อยลงได้ไปทำงานอื่นๆ ที่ทำให้สังคมดีขึ้นได้กว่านี้ไม่ต้องมาทำงานตามสถานการณ์รายวันอย่างทุกวันนี้ เช่น การเอาผิดเจ้าหน้าที่รัฐที่ทำการละเมิดสิทธิหรือคุกคามอื่นๆ ที่ตอนนี้ยังไม่มีใครทำถึงส่วนนี้ แล้วก็คงจะได้ทำการบันทึกรวบรวมเอกสารต่างๆ ที่เกิดขึ้นในคดีตลอดช่วงที่ผ่านมาเพื่อเก็บรักษาหลักฐานพวกนี้ให้อยู่ต่อไปให้คนรุ่นต่อๆ ไปได้มาศึกษา

นพพลได้กล่าวถึง สถานการณ์ล่าสุดในการออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมซึ่งถือเป็นความหวังของคนที่ถูกดำเนินคดีทางการการเมืองในเวลานี้ว่า ทางศูนย์ทนายความฯ แล้วก็องค์กรเครือข่ายก็ได้ร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมประชาชนแล้วก็เพิ่งให้ประชาชนได้ร่วมลงชื่อกันไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาแล้วตอนนี้ร่างกฎหมายของภาคประชาชนก็ได้บรรจุเข้าไปในเว็บไซต์รับฟังความเห็นของรัฐสภาแล้ว

นพพลบอกว่า ร่างกฎหมายฉบับนี้แม้ว่าจะเป็นแค่จุดเริ่มต้นของการแก้ไขความขัดแย้งแต่ยังไม่ใช่จุดสิ้นสุด เพราะว่าเป็นเพียงแค่การทำให้ประชาชนที่ถูกดำเนินคดีได้ปลดภาระทางคดีออกไป ทำให้ความขัดแย้งได้คลี่คลายในระดับหนึ่งเท่านั้น ทำให้การพูดถึงเรื่องการแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้าง หรือเรื่องการปฏิรูปสถาบันฯ สามารถพูดได้อย่างสันติ แต่ก็ไม่รู้ว่าที่ตอนนี้มีการตั้งกรรมาธิการขึ้นมาพิจารณาจะมีรายงานออกมาว่าอย่างไร จะมีการรวมมาตรา 112 หรือไม่ แต่ทางศูนย์ทนายความฯ ก็ยืนยันว่าคดี 112 เป็นคดีทางการเมืองและควรจะต้องอยู่ในการนิรโทษกรรมด้วย 

แหล่งที่มา

Share:
Scroll to Top